วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

บึงมักกะสัน


หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration) ตามแนวทฤษฏีพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บึงมักกะสัน โดยใช้วิธีการมีในรูปแบบของเครื่องกรองน้ำธรรมชาติ คือ ให้มีการทดลองใช้ผักตบชวามาทำหน้าที่ดูดซึมความโสโครก รวมทั้งสารพิษจากน้ำเน่าเสีย โดยสูบน้ำจากคลองสามเสนเข้าบึงทางหนึ่ง และสูบออกจากคลองสามเสนอีกทางหนึ่ง ระยะห่างกัน๑๐๐-๒๐๐ เมตร หรือฝังท่อระบายน้ำออกทางระบายน้ำอโศก-ดินแดงโดยใช้ผักตบชวาอยู่ในบึง และทำการตกแต่งให้ดีไว้บริเวณกลางบึงเพื่อกรองน้ำเสีย

สำหรับน้ำที่ใสสะอาดขึ้นนี้ให้ระบายออกสู่ คลองธรรมชาติ ตามเดิม แล้วรับน้ำเสียจำนวนใหม่มาดำเนินการผ่านกรรมวิธีเป็นวงจร เช่นนี้ตลอดไปในอนาคตเมื่อการกำจัดน้ำเน่าเสียด้วยผักตบชวาในบึงมักกะสันแห่งนี้ ได้ผลดี ก็จะได้นำไป ใช้เป็น แบบอย่างในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียที่แหล่งน้ำ หรือลำคลองอื่นต่อไปซึ่งในขณะนี้กรุงเทพมหานครและการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นหน่วยงานหลักในการใช้ประโยชน์ และดูแลรักษาบึงแห่งนี้ให้คงมีสภาพที่ดีสืบไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบเทียบว่า "บึงมักกะสัน" เป็นเสมือนดั่ง "ไตธรรมชาติ" ของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้หลายอย่างเช่น ปุ๋ย เชื้อเพลิง เยื่อสานจากผักตบชวาและการปลูกพืชน้ำอื่นๆ เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น รวมทั้งการเลี้ยงปลาด้วย โดยมิได้มีพระราชประสงค์จะทำให้เป็น สวนสาธารณะแต่อย่างใด บึงมักกะสันจึงเป็นบึงที่สร้างภาวะแวดล้อมด้วยวิธีธรรมชาติ เรียบง่าย ประหยัด และที่สำคัญเป็น แหล่งค้นคว้าทดลองที่พระราชทานเพื่อปวงประชา จักได้มีสุขถ้วนทั่วหน้ากัน การพัฒนาบึงมักกะสันจึงนับเป็นความสำเร็จที่เกิดจาก พระปรีชาสามารถในเชิงวิชาการด้านนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษทางน้ำ ด้วย สายพระเนตรที่ยาวไกล จึงนับเป็นพระ-มหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง แก่ชาวไทยทั้งมวล

ไม่มีความคิดเห็น: