วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

กังหันน้ำชัยพัฒนา


การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วยกังหันน้ำชัยพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกล เติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถผลิตขึ้นเองได้ในประเทศ
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วมกับกรมชลประทาน เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๓๖ เครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกล
เติมอากาศเครื่องที่ ๙ ของโลก ที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียน และออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น
“สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก” กังหันชัยพัฒนา เป็นสิ่งประดิษฐเพื่อ
บำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ลักษณะเป็นเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ มีใบพัดที่ออกแบบเป็นซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 6 ซอง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้าสำหรับขับเคลื่อนซองน้ำให้หมุนรอบเป็นวงกลม ทั้งนี้ ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายผสมผสานเข้าไปในน้ำได้
อย่างรวดเร็ว โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์นี้ เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ซึ่งต่อมาได้มีการจัดให้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น วันนักประดิษฐ์

ไม่มีความคิดเห็น: