วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การทอผ้า



การทอผ้าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่คนไทยรุ่นปัจจุบันต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ในสมัยก่อน ผู้หญิงไทยจะทำเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านเอง งานสำคัญอย่างหนึ่งคือการทำเสื้อผ้า ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ไว้ใช้กันในครอบครัว ในพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย ก็ต้องใช้ผ้า ผ้าทอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตคนไทย กรรมวิธีและเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ เป็นเทคนิคและ ความสามารถของแต่ละคนหลักใหญ่ของการทอผ้าก็คือ การนำเส้นฝ้ายหรือไหมมาขัดกันให้เป็นลาย โดยขึงเส้นกลุ่มหนึ่งเป็นหลัก เรียกว่า เส้นยืน แล้วใช้อีกเส้นหนึ่ง เรียกว่าเส้นพุ่ง สอดตามขวางของเส้นยืน เมื่อสานขัดกันก็จะเกิดลวดลายต่างๆ ผ้าบางชนิด ผู้ทอจะคิดหาวิธีสอดด้ายและสอดสีสลับกัน บางวิธีก็จะจับผูกและมัดเน้นเป็นช่วงๆ หรืออาจจะยกด้ายที่ทอเป็นระยะๆ ทำให้เกิดลวดลายสวยงาม ผู้ทอต้องสามารถจดจำลวดลายที่ตนคิดประดิษฐ์ได้ ถึงแม้แต่ละลวดลายจะมีความซับซ้อนและหลากหลาย แต่เขาก็สามารถนำมาประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ งดงามแสดงถึงภูมิปัญญาและความสามารถของชาวชนบทเป็นอย่างดี ผ้าทอมือจึงมีเทคนิคการทอและควาสวยงามเป็นที่สุด ผ้าทอของชาวบ้านมีรูปแบบ ระเบียบลาย ที่บ่งชี้ถึงกลุ่มของคนไทยสายต่างๆ ได้ ผ้าซิ่นที่นุ่ง ก็มีการทอให้แตกต่างกัน สามารถบอกได้ว่า หญิงคนใดยังเป็นโสดและหญิงคนใดแต่งงานแล้ว ผ้าซิ่นของหญิงมีสามีจะเป็นซิ่นที่นำผ้าสามชิ้นมาต่อกัน แบ่งเป็นส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนเชิงแต่ละส่วนจะทอเป็นลวดลายแตกต่างกันทั้ง 3 ส่วน ผ้าซิ่นของหญิงสาวจะเป็นผ้าผืนเดียวกันตลอดทั้งผืน อาจใช้วิธีมัดหมี่เป็นดอกเป็นลวดลายอย่างเดียวสวยงามมาก ชายผ้าซิ่นแทบทุกผืนจะมีวิธีทำลวดลายแปลกๆ เช่น อาจจะจกไหมสลับกับฝ้ายในรูปแบบของการทอผสมปักกลายๆ แต่แทนที่จะใช้เข็มปัก เขาจะใช้ขนเม่นทำลวดลาย วิธีนี้เรียกว่า จก แต่ละบ้านจะมีลวดลายของตน ผ้าตีนจกที่นิยมกันมากคือ ผ้าตีนจกของหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย เป็นศิลปะพื้นบ้านลวดลายสวย สีงาม งานประณีต นอกจากผ้ามัดหมี่ ผ้าจกแล้ว ยังมีผ้าแพรวาซึ่งใช้เป็นผ้าคลุมไหล่ หรือห่มเฉียงไหล่ ผ้าขิตซึ่งมีลวดลายเป็น แนวเดียวกันตลอด นิยมใช้ทำหมอน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้ายกดอกเป็นศิลปะการทออีกแบบหนึ่งคล้ายกับผ้าขิตแต่จะทอด้วยไหมทั้งผืน และยกดิ้นเงินหรือดิ้นทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีชื่อเสียงในการทอผ้ายก เรียกว่า ผ้ายกเมืองนคร ผ้าพื้นและผ้าอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นผ้าที่ทอใช้กันทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า เป็นส้นขัดตาตารางหรือเป็นลายเส้นธรรมดา วัตถุดิบที่ใช้ในการทอผ้า วัตถุดิบ ที่นิยมนำมาใช้ทอผ้า ได้แก่ ไหม ฝ้าย และขนสัตว์นั้น นักวิชาการเชื่อกันว่า มีกำเนิดจากดินแดนอื่นนอกประเทศไทย ไหมนั้นเชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้วนำไปเผยแพร่ในญี่ปุ่น อินเดีย รวมทั้งดินแดนต่างๆ ในเอเชีย และยุโรป ส่วนฝ้ายเชื่อกันว่าอาจมาจากอาหรับและเผยแพร่เข้ามาใช้กัน อย่างกว้างขวางในอินเดียก่อน จึงเข้ามาในแถบประเทศไทย และประเทศใกล้เคียงภายหลัง จนกลายเป็นพืชพื้นเมืองในแถบนี้ไป สำหรับขนสัตว์เป็นวัสดุที่เหมาะกับอากาศหนาว เชื่อกันว่านำมาใช้ทำผ้าในยุโรปตอนเหนือก่อน แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ดินแดนอื่นๆการทอผ้าแบบพื้นบ้าน พื้นเมืองใภูมิภาคต่างๆในปัจจุบันการทอผ้าพื้นบ้านพื้นเมืองหลายแห่งยังทอลวดลาย สัญลักษณ์ดั้งเดิม โดยเฉพาะในชุมชนที่มีเชื้อสายชาติพันธุ์บางกลุ่มที่กระจายตัวกันอยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ศิลปะการทอผ้าของกลุ่มชนเหล่านี้จึงนับว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มอยู่จนถึงทุกวันนี้ หากจะแบ่งผ้าพื้นเมืองของกลุ่มชนเหล่านี้ตามภาคต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ก็อาจจะแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้๑. การทอผ้าในภาคเหนือแถบล้านนาไทย๒. การทอผ้าในภาคกลาง ในภาคกลางตอนบน๓. การทอผ้าในภาคอีสาน๔. การทอผ้าในภาคใต้ลวดลายและสัญลักษณ์ในผ้าไทยเป็นอย่างไร ผ้าพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยที่ทอกันตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยลวดลายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ผ้าในยุคปัจจุบันอาจไม่เข้าใจความหมายและมองไม่เห็นคุณค่า ลวดลายและสัญลักษณ์เหล่านี้ บางลายก็มีชื่อเรียกสืบต่อกันมาหลายชั่วคน บางชื่อก็เป็นภาษาท้องถิ่นไม่เป็นที่เข้าใจของรนไทยในภาคอื่น ๆ เช่น ลายเอี้ย ลายบักจัน ฯลฯ บางชื่อก็เรียกกันมาโดยไม่รู้ประวัติ เช่น ลายแมงมุม ลายปลาหมึก ซึ่งแม้แต่ผู้ทอก็อธิบายไม่ได้ ว่าทำไมจึงเรียกชื่อนั้น บางลวดลายก็มีผู้ตั้งชื่อให้ใหม่ เช่นลาย "ขอพระเทพ" เป็นต้น สัญลักษณ์และลวดลายบางอย่างก็เชื่อมโยงกับคติและความเชื่อของคนไทยพื้นบ้านที่นับถือสืบต่อกันมาหลาย ๆ ชั่วอายุคน และยังสามารถเชื่อมโยงกับลวดลายที่ปรากฏอยู่ในศิลปะอื่น ๆ เช่น บนจิตรกรรมฝาผนัง และสถาปัตยกรรม หรือบางทีก็มีกล่าวถึงใน ตำนานพื้นบ้าน และในวรรณคดี เป็นต้นบางลวดลายก็เป็นคติร่วมกับความเชื่อสากลและปรากฏอยู่ในศิลปะของหลายชาติ เช่น ลายขอหรือลายก้นหอย เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นลายเก่าแก่แต่โบราณของหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก หากเรารู้จักสังเกตและศึกษาเปรียบเทียบแล้วก็จะเข้าใจลวดลายและสัญลักษณ์ในผ้าพื้นเมืองของไทยได้มากขึ้น และมองเห็นคุณค่าได้ลึกซึ้งขึ้น ลวดลายต้นแบบ สามารถแบ่งเป็น ๔ ประเภท ได้แก่๑. ลายเส้นตรง หรือเส้นขาด๒. ลายฟันปลา๓. ลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือลายกากบาท๔. ลายขดเป็นวงเหมือนก้นหอย หรือตะขอลวดลายที่เชื่อมโยงกับความเชื่อพื้นบ้านอย่างเห็นได้ชัดมีอะไรบ้างลวดลายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในศิลปะผ้าทอไทยนั้นเชื่อกันว่ามีความเชื่อมโยงกับคติความเชื่อของคนไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เราอาจศึกษาเปรียบเทียบลวดลายสัญลักษณ์เหล่านี้กับสัญลักษณ์อย่างเดียวกันที่ปรากฏอยู่ในศิลปะประเภทอื่น ๆ เช่น ในจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และแม้แต่ในตำนานพื้นบ้านที่เล่าขานสืบต่อกันมา หรือในวรรณกรรมต่าง ๆ ลวดลายที่เชื่อมโยงกับความเชื่อพื้นบ้านไทยอย่างเห็นได้ชัด มีดังนี้สัญลักษณ์งูหรือนาค งูหรือนาคปรากฏอยู่ในลายผ้าพื้นเมืองของคนไทยกลุ่มต่างๆ เกือบทุกภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะในล้านนาและในอีสาน นอกจากนี้ยังพบในศิลปะของกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไท ที่อาศัยอยู่นอกดินแดนของไทยในปัจจุบัน เช่น ในสิบสองปันนา ในลาว อีกด้วยในแถบลุ่มแม่น้ำโขง คนไทยและคนลาวต่างมีความเชื่อสืบทอดกันมา เรื่องพญานาค ซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองบาดาลใต้แม่น้ำโขง จนกระทั่ง ทุกวันนี้ผู้คนในแถบนั้นก็ยังเชื่อว่าเวลามีงานบุญประเพณี เช่น งานไหลเรือไฟ พญานาคก็จะขึ้นมาเล่นลูกไฟด้วย ดังที่มีผู้เห็นลูกไฟขึ้น จากลำน้ำในช่วงเทศกาลงานไหลเรือไฟเป็นประจำเกือบทุกปีสัญลักษณ์นกหรือห่านหรือหงส์ นกหรือหงส์เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในศิลปะผ้าทอพื้นบ้านในภาคเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ก็มีปรากฏมากในผ้าทอมือของลาวสิบสองปันนา และในหมู่พวกคนไทในเวียดนาม ในสถาปัตยกรรมล้านนาและล้านช้างจะพบนกหรือหงส์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประดับอยู่บนหลังคาโบสถ์ คู่กับสัญลักษณ์นาค หรือบางแห่งก็มีแต่หงส์ประดับอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในวัดในสิบสองปันนา สัญลักษณ์นกหรือหงส์หรือนกยูง จะปรากฏอยู่ทั่วไปทั้งในจิตรกรรม สถาปัตยกรรม และบนผืนผ้า นกยูงเป็นสัญลักษณ์ที่ รัฐบาลจีนปัจจุบัน ได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของยูนาน และได้มีการประดิษฐ์นาฏลีลาสมัยใหม่ซึ่งใช้แสดงเป็นสัญลักษณ์ของชาวไทลื้อในสิบสอบปันนา เรียกว่า ระบำนกยูง การทอลายขิต คือการคัดเก็บยกเส้นด้ายยืนพิเศษ ให้เกิดเป็นลวดลาย แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตลอดแนวของความกว้างของหน้าผ้า ทำให้เกิดลายขิตในแต่ละแถวเป็นลายขิตสีเดียวกัน การยก เป็นเทคนิคการทอยกลายให้เห็นเด่นชัด มีลักษณะคล้ายกับการทอลายขิต แต่ใช้เส้นพุ่งพิเศษ เช่น ไหม ดิ้นเงิน ดิ้นทอง มีชายมีเชิง ซึ่งขั้นตอนยุ่งยากกว่าผ้าทอลายขิตมาก การจก เป็นเทคนิคการทอลวดลายบนผืนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปขณะที่ทอเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้ากระทำโดยใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วมือ ยกหรือจกด้วยเส้นยืนขึ้น แล้วสอดเส้นพุ่งพิเศษต่อไปตามจังหวะของลวดลาย สามารถสลับสีได้หลากหลายสี การทอลายน้ำไหล เป็นเทคนิคการทอแบบลายขัดธรรมดา แต่ใช้ด้ายหลากสีพุ่งเกาะเกี่ยวกันเป็นช่วง ๆ ให้เกิดจังหวะของลายน้ำไหล เป็นลักษณะเฉพาะของชาวเมืองน่าน เรียกกรรมวิธีการทอนี้ว่า "ล้วง" แต่ชาวไทลื้อ อำเภอเชียงของ และเชียงคำ จังหวัดเชียงราย เรียกว่า "เกาะ" เทคนิคนี้อาจดัดแปลงพัฒนาเป็นลายอื่น ๆ เรียกว่าลายผักแว่น ลายจรวด ฯลฯ เป็นต้น การยกมุก เป็นเทคนิคการทอ โดยใช้เส้นยืนพิเศษเพิ่มบนกี่ทอผ้าลายยกบนผ้าเกิดจากการใช้ตะกอลอยยกด้ายยืนพิเศษ ลวดลายที่เกิดจากเทคนิคนี้คล้ายกันมากกับลวดลายที่เกิดจากเทคนิค ขิต จก แทบจะแยกไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องเทคนิคการทอผ้าที่ลึกซึ้ง ชาวไทยพวนที่ตำบลหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย และที่ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เทคนิคนี้ในการทอส่วนที่เป็นตัวซิ่น บางครั้งอาจจะนำเชิงซิ่นมาต่อเป็นตีนจกเรียกว่า ซิ่นมุก การมัดหมี่ เป็นเทคนิคการมัดเส้นพุ่งหรือเส้นยืน ให้เป็นลวดลายด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกฟางก่อนนำไปย้อมสี แล้วกรอด้ายให้เรียงตามลวดลาย ร้อยใส่เชือกแล้วนำมาทอ จะได้ลายมัดหมี่ที่เป็นทางกว้างของผ้า เรียกว่า มัดหมี่ เส้นพุ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในบ้านเรา มีการทำผ้ามัดหมี่เส้นยืนบ้างในบางจังหวัดเช่นจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นผ้าชาวเขา บางผืนใช้การทอสลับกับลายขิต ซึ่งช่วยเพิ่มความวิจิตรงดงามให้แก่ผืนผ้าปัญหาในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะผ้าไทยมีอะไรบ้างศิลปะผ้าทอไทยอันมีประวัติยาวนานและมีความมั่งคั่งหลากหลาย ซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณจนทุกวันนี้ ตกอยู่ในมือของคนรุ่นเราและรุ่นหลังจะรักษาต่อไป หน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานทั้งของรัฐบาลและเอกชนต่างก็ช่วยกันดำเนินการรับสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเรื่องการศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาศิลปะผ้าทอของไทย อย่างไรก็ตามเท่าที่ได้มีการศึกษา สำรวจปัญหาต่าง ๆ พบว่ายังมีปัญหาในการส่งเสริมและพัฒนาศิลปะการทอผ้าไทยอยู่ดังนี้๑. ศิลปหัตถกรรมในหลาย ๆ ท้องถิ่นยังถูกละเลย การผลิตศิลปหัตถกรรมกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่มีแหล่งรวมในบางท้องถิ่น๒. ขาดการกระตุ้นหรือประกวดให้ผลิตผลงานที่มีคุณภาพมาก ๆ ขึ้น๓. ผู้มีฝีมือเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอย่างอื่น๔. ไม่รักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ เมื่อผ้าทอมือขายดีจะผลิตผ้าที่ด้อยฝีมือมาขายแทน ช่างทอก็มีคุณภาพด้อยลง และมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ๕. ช่างฝีมือคุณภาพดีมักทำงานได้ช้าขายยาก เพราะต้องขายราคาแพงให้คุ้มกับเวลา หมดกำลังใจ ขาดการส่งเสริม ช่างทอฝีมือดี หลายคนยังไม่มีคนรู้จักและเห็นคุณค่า๖. ช่างฝีมือขาดการแข่งขันทางความคิด๗. การถ่ายทอดทำกันในวงจำกัด ขาดตัวผู้สืบทอดอย่างจริงจังและกว้างขวาง

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551

โอ่งมังกร


โอ่งราชบุรีทำไมต้องเขียนลายมังกร คนจีนซึ่งเคยทำเครื่องปั้นดินเผามาก่อนจากเมืองจีน ได้มาริเริ่มทำโอ่ง อ่าง ไห ขาย จีนรุ่นบุกเบิกชื่อ นายจือเหม็ง แซ่อึ้งและพรรคพวก ได้รวบรวมทุนได้ 3,000 บาท ตั้งโรงงานเถ้าเซ่งหลีขึ้น เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 เป็นโรงงานขนาดเล็กบริเวณสนามบินอยู่ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลราชบุรีเดี๋ยวนี้ แหล่งดินสีแดงที่ราชบุรีก็ค่อนข้างจะมีคุณภาพเหมือนที่เมืองจีน ดังนั้น จากเดิมเราใช้โอ่งอ่างไหจากเมืองจีน ผู้ริเริ่มก็ทำอ่าง ไห กระปุก และโอ่งบ้างเล็กน้อย ให้ชาวมอญราชบุรีใส่เรือไปเร่ขาย การทำโอ่งได้ริเริ่มอย่างจริงจังก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินขาวที่ใช้แต่งลวดลายเดิมได้มาจากเมืองจีน ต่อมาได้หาทดแทนจากดินที่ท่าใหม่จันทบุรี และสุราษฏร์ธานี เมื่อกิจการรุ่งเรืองขึ้น โรงงานจึงขยายกิจการและผลิตโอ่งเพิ่มมากขึ้น หุ้นส่วนหลายคนแยกตัวไปตั้งโรงงานเอง โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีโรงงานผลิตโอ่งอยู่ถึง 42 แห่ง และเป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบรูปแบบต่าง ๆ ออกไปอีก 17 แห่งตามจังหวัดอื่น ๆ ที่แยกไปจากนี้ คือ ที่อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัดชลบุรีและในกรุงเทพมหานครบริเวณ สามเสน เป็นต้น เจ้าของโรงงาน ช่างปั้น และประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดราชบุรี เมื่อครึ่งศตวรรษมาแล้วล้วนเป็นลูกหลานจีน ดังนั้นช่างปั้นจึงได้คิดคัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคล และมี ความหมายที่ดี เพื่อให้เกิดความรู้สุกที่ดีต่อผู้ใช้ นอกเหนือจากความงามเพียงอย่างเดียว ที่สุดก็ได้เลือกสรรลวดลายมังกร ซึ่งแฝงและฝังไว้ด้วยความหมายตามความเชื่อ คตินิยมในวัฒนธรรมจีน ลวดลายมังกรดั้นเมฆ มังกรคาบแก้ว และมังกรสองตัวเกี่ยวพันกัน ล้วนเป็นสัตว์สำคัญในเทพนิยายของจีน เป็นเทพแห่งพลัง แห่งความดี และแห่งชีวิต ช่างปั้นเลือกเอา มังกรที่มี 3 เล็บหรือ 4 เล็บ เป็นลวดลายตกแต่งโอ่ง ช่างผู้ชำนาญปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปมังกร โดยไม่ต้องร่างแบบ ขีดเป็นลายมังกรด้วยปลายซี่หวี เป็นหนวด นิ้ว เล็บ ส่วนเกล็ดมังกรหยักด้วยแผ่นสังกะสีแล้วเน้นลูกตาให้เด่นออกมา มารู้จักมังกรซิครับ พญานาค เป็นชื่อที่คนไทยเรียก มังกร เป็นชื่อที่คนจีน ญี่ปุ่น เกาหลีและญวนใช้เรียก จึงผิดกันเฉพาะรูปร่างหน้าตาและชื่อที่เรียกเท่านั้น ไทยเราไม่เรียก แล้ง เล่ง หรือ หลง ตามภาษาจีน แต่เรียกมังกร มาจากบาลีสันสกฤตว่า มกร หรืออย่างไร ก็ไม่ทราบ ว่าถึงรูปร่างมกรก็เป็นอีกแบบหนึ่งไม่เหมือนรูปเล่งของจีน ในหนังสือตำราพิชัยสงคราม สมัยรัชกาลที่ 2 มีการจัดขบวนทัพข้ามน้ำเรียกว่า มังกรพยุหะ ก็เขียนรูปมังกรคล้าย พญานาค เพียงแต่เพิ่มเขาและเท้าเข้าไปเท่านั้น บางตัวก็มีเกล็ด บางตัวก็มีลายแบบงู ความจริงรูปร่างมังกรแบบจีน คนไทยก็คงเคยเห็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้วใน สมัยรัตนโกสินทร์ก็ใช้เป็นลายประดับตามประตู และสลักบนแผ่นหินหลายแห่งรูปมังกรของจีนคงจะได้แพร่หลายไปตามภาชนะพวกถ้วยชามโอ่งไห ดังได้พบบนลายโอ่ง สมัยราชวงศ์ถังที่พบในแม่น้ำลำคลอง ความจริงแล้วเรื่องของมังกร พญานาค งู ปลา จระเข้ มีเรื่องพัวพันกันชอบกลเรื่องของจีนที่เกิดสมัยที่นับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ไทยแปลคำว่า เล้ง เล่ง หลง เป็น พญานาคหมด ทำให้คนไทยเข้าใจเรื่องดีขึ้น และไทยก็เอารูปมังกรมาเขียนเป็นเป็นแบบไทย ๆ คล้ายพญานาคดังกล่าวมาแล้ว ในหนังสือประวัติวัฒนธรรมจีนได้กล่าวถึงกำเนิดมังกรไว้เป็นความว่า มังกรเกิดขึ้นในสมัยอึ่งตี่หรือหวงตี้ ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายประจำชาติจีน เพราะ สมัยโบราณมนุษย์นิยมใช้รูปสัตว์หรือดอกไม้เป็นเครื่องหมายประจำเผ่าของตน ชาติจีนที่ได้รวมขึ้นเป็นชาติใหม่ จึงควรมีเครื่องหมายประจำชาติใหม่ กษัตริย์อึ่งตี่จึงนำ ส่วนต่าง ๆ ของสัญลักษณ์ที่แต่ละเผ่าเคยใช้มารวมกัน คือนำหัวของสัญลักษณ์ชนเผ่าวัว ลำตัวของเผ่างู เกล็ดหางของเผ่าปลา เขาของเผ่ากวาง และเท้าของเผ่านก นำ ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาปรุงเป็นรูปสัตว์ชนิดใหม่ขึ้นเรียกว่า เล้ง หรือมังกร มังกรมีเล็บไม่เท่ากัน มังกรผู้ยิ่งใหญ่หรือระดับหัวหน้าจะมี 5 เล็บ และรูปมังกรที่ฉลองพระองค์ของจักรพรรดิจะมีเล็บมากกว่ามังกรธรรมดา คือ ธรรมดามีเพียง 4 เล็บ รูปมังกรที่ฉลองพระองค์ก็จะมี 5 เล็บ และใช้เป็นเครื่องหมายของราชวงศ์ที่มียศสูงสุดส่วนพวกเจ้าชั้นที่ 3 ที่ 4 หรือขุนนางใช้เป็นเครื่องหมายได้เพียงมังกรชนิดชนิด 4 เล็บเท่านั้น ส่วนการประดับตกแต่งทั่ว ๆ ไปก็จะใช้มังกรชนิด 3 เล็บเป็นพื้น มังกรชนิด 5 เล็บนั้นกล่าวว่าเล็บที่ 5 ไม่ได้เรียงกันแบบธรรมดา เล็บที่ 5 จะวางอยู่ตรงกลางฝ่า เท้า มังกรของจีน นอกจากจะมีเขาแบบกวางแล้ว ตัวผู้ยังมีหนวดมีเคราอีกด้วย ตั้งแต่รัชกาล เถาจื่อ แห่งราชวงศ์ถัง ได้เริ่มใช้มังกร 5 เล็บ เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ มังกรมี 3 ชนิด แต่แบ่งหน้าที่เป็น 4 พวก จีนได้แบ่งชนิดของมังกรออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน คือ หลง เป็นพวกที่มีอำนาจมากที่สุด มีนิสัยชอบอยู่บนฟ้า หลี เป็นพวกที่ไม่มีเขา อาศัยอยู่ในมหาสมุทร เจียว เป็นพวกมีเกล็ด อยู่ตามลุ่มหนองหรือถ้ำในภูเขา ที่รู้จักกันมากคือ หลง ซึ่งมีส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ 9 อย่างดังกล่าวมาแล้ว มังกรของจีนมีหน้าที่แบ่งกันทำ 4 พวกด้วยกัน คือ มังกรสวรรค์ มีหน้าที่รักษาวิมานเทวดาและค้ำจุนวิมานไม่ให้พังลงมา มังกรเทพหรือมังกรเจ้า มีหน้าที่ให้ลมให้ฝนเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ มังกรพิภพ มีหน้าที่กำหนดเส้นทางดูแลแม่น้ำลำธาร มังกรเฝ้าทรัพย์ มีหน้าที่เฝ้าขุมทรัพย์ของแผ่นดิน มีเรื่องน่าสังเกตว่า หน้าที่ของมังกรไปตรงกับหน้าที่ของพญานาค ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 พวกเหมือนกัน ไทยรู้จักมังกรมาตั้งแต่เมื่อไร อย่างต่ำที่สุดก็ พ.ศ. 2276 ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มีรูปมังกรประดับพระเมรุด้วย แต่รูปร่างจะเป็นอย่างไรไม่ทราบ มาเห็นรูป ร่างมังกรในตำราพิชัยสงครามสมัยรัชกาลที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ก็เป็นแบบไทย ๆ คือคล้ายพญานาค แต่ไม่มีหงอนสูง มีเขา 2 เขา มีครีบ มีตีน ทำไมรูปมังกรจึงต้องมีลูกแก้วด้วย ตามตำนานกล่าวว่า มังกรมีไข่มุกมีค่าเท่ากับทองร้อยแท่งอยู่ในปาก เมื่อมังกรต่อสู้กันอยู่บนอากาศ ไข่มุกก็ตกลงมาบนพื้นดิน ต้นเรื่องของมังกรคาบแก้วหรือเล่น แก้วจะมาจากเรื่องนี้หรือเปล่าไม่ทราบ แต่ฟังตามเรื่องแล้วมังกรชอบเพชนนิลจินดามาก ตามภาพเขียนของจีนถ้าเป็นรูปมังกร 2 ตัวหันหน้าเข้าหากัน ก็จะเป็นรูปกลม ๆ สี แดงอยู่ระหว่างมังกรทั้งสองนี้ บ้างก็ว่ารูปกลมแดงนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ภูมิใจในคำขวัญ “เมืองโอ่งมังกร” ด้วยพื้นฐานของช่างปั้นซึ่งเป็นลูกหลานของคนจีน เนื้อดินเหนียวเป็นวัตถุดิบชนิดดี ช่างติดลายได้นำความสามารถเชิงศิลปะสะท้อนภาพชีวิตตามวัฒนธรรมจีน มา ผสมผสานกับเทคนิคการผลิตเป็นอุตสาหกรรม อดีตจากท่าน้ำหน้าเมือง โอ่งมังกรจะแพร่ไปทั่วตามแม่น้ำลำคลอง ที่เรือขายโอ่งจะผ่านไปได้ จนปัจจุบันนี้ รถบรรทุกสิบล้อ จะขนไปขายทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องไม่ว่าเหนือจรดใต้จนเป็นที่รู้จักว่าราชบุรีคือเมืองโอ่งมังกรการทำโอ่งมังกรมีด้วยกัน 5 ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1 การเตรียมดินขั้นตอนที่ 2 การขึ้นรูปหรือการปั้นขั้นตอนที่ 3 การเขียนลายขั้นตอนที่ 4 การเคลือบขั้นตอนที่ 5 การเผาเมื่องานกีฬาเยาวชนครั้งที่ 5 และงานมหกรรมของดีเมืองราชบุรี ปี 2532 จังหวัดได้สร้างคำขวัญเพื่อเผยแพร่ให้รู้จักจังหวัดราชบุรี ว่า “ คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี ” ที่มา : http://www.ratchaburi.go.th/data/cultye/jar.htm

เครื่องจักสาน

เครื่องจักสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทรงคุณค่า ไม้ไผ่ หวาย กระจูด ใบตาล ใบลาน ย่านลิเภา กก กลายมาเป็นเครื่องจักสานที่ทรงคุณค่าได้อย่างไรเพื่อนๆ คงรู้จักและเคยเห็นเครื่องจักสานที่เป็นกระบุง ตระกร้า กระติ๊บ ข้อง หรือเสื่อ กันมาบ้างนะคะ มีใครทราบไหมค่ะว่า ในประเทศไทยพบหลักฐานการใช้เครื่องจักสานมาตั้งแต่เมื่อไหร่ หลายๆ คนคงจะตอบว่าในสมัยก่อน หรือในสมัยโบราณใช่มั้ยค่ะ ถูกแล้วค่ะ เครื่องจักสานมีใช้มานานแล้วค่ะ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,000ปีมาแล้ว ไม่น่าเชื่อเลยนะคะเพราะปัจจุบันเราก็ยังใช้กันอยู่และยังมีให้เห็นในชีวิตประจำวัน หรือตามตลาดทั่วไป เครื่องจักสานเหล่านี้มีความเป็นมาที่ยาวนานและมีพัฒนาการที่ต่อเนื่องมาโดยตลอดค่ะ บางชิ้นเด็กสมัยใหม่ก็ไม่รู้จักกันแล้วล่ะค่ะทั้งๆ ที่ในอดีตเคยใช้กันอย่างแพร่หลาย วันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร จึงนำเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักสานมาฝากเพื่อนๆ คะ เพื่อให้เราได้รู้จักสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันให้มากขึ้น และร่วมกันภาคภูมิใจในการสร้างสรรค์งานของบรรพบุรุษ ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลยค่ะ เครื่องจักรสาน เครื่องจักสาน เป็นงานหัตกรรมที่หล่อหลอมขึ้นจากจิตวิญญาณและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ คำว่า เครื่องจักสาน แยกความหมายคำได้คือ จัก หมายถึงการนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือริ้ว ส่วนคำว่า สาน หมายถึง การนำเอาวัสดุที่เตรียมแล้วมาสานประดิษฐ์ให้เป็นรูปร่างและลวดลายต่างๆ ขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งคือ การถัก ซึ่งเป็นกระบวนการประกอบทำให้เครื่องจักสานสมบูรณ์เสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอกวัสดุที่นำมาใช้สานได้แก่ ไม้ไผ่ หวาย กก ป่าน กระจูด ลาน ลำเจียก เตย และย่านลิเภา เป็นต้น ประเภทเครื่องจักสาน ความคิดพื้นฐานในการสร้างเครื่องจักสานเกิดจากความต้องการในการดำเนินชีวิตเป็นหลัก เครื่องจักสานยุคแรกจึงมีรูปแบบและวิธีการง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน เครื่องจักสานในประเทศไทย เริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบหลักฐานเป็นโครงสร้างเครื่องจักรสานบนภาชนดินเผาที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อายุราว 3,000 ปี และในสมัยสุโขทัยได้มีตำนานเล่าถึงพระร่วงแสดงปาฏิหารใช้กระออม (เครื่องจักสานไม่ไผ่ชนิดหนึ่งใช้ตักน้ำ) อีกด้วยเครื่องจักสานโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ 1.เครื่องมือในการเกษตรกรรม เช่น วี (กาวี) กระบุง เป็นต้น 2.เครื่องมือในครัวเรือน เช่น กระชอนกรองกะทิ พ้อม (กะพ้อม) กระติ๊บ เป็นต้น 3.เครื่องมือจับสัตว์ เช่น ลอบ ไซ ข้อง ชนาง สุ่ม เป็นต้น 4.เครื่องมือในพิธีกรรม เช่น ขันกระหย่อง ตาเหลว เป็นต้น 5.เครื่องมือเบ็ดเตร็ด เช่น กระด้ง เป็นต้น เครื่องจักสานในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย ลักษณะของเครื่องจักสานแต่ละประเภทนั้น มักจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนแต่ละท้องถิ่นเป็นสำคัญ ฉะนั้นจึงมีความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย รูปร่าง ลวดลาย และวัสดุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทำให้เครื่องจักสานพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภาคเหนือ เครื่องจักสานภาคเหนือ จะมีเอกลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมและศาสนา เช่นวัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียว เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการบริโภคข้าวเหนียวมีหลายรูปแบบ เช่น -แอบข้าว (แอ้บข้าว) ภาชนะทรงกระบอกสำหรับใส่ข้าวเหนียว -กระทาย ภาชนะใส่พืชผล มีเชือกผูกร้อยกับภาชะ และโยงมาคาดที่หน้าผาก เป็นต้น ภาคอีสาน คนในภาคอีสานมีวัฒนธรรมในการบริโภคข้าวเหนียวเช่นเดียวกับคนในภาคเหนือ แต่เครื่องจักสานของชาวอีสานจะมีลักษณ์เฉพาะ เช่น - กระติ๊บข้าว เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ทรงกระบอกสูงคล้านกระป๋อง ตัวและฝามี ขนาดเกือบเท่ากัน มีเชือกห้อยสำหรับสะพาย - ก่องข้าว ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ มีขาหรือฐานไม้เป็นรูปกากบาทไขว้ ตัวก่องข้าวสานด้วยไม้ไผ่ซ้อนกัน 2 ชั้น คล้ายรูปดอกบัวแต่มีขอบสูงขึ้นไปเหมือนโถ โดยมีส่วนฝาเหมือนฝาชีครอบอีกชั้นหนึ่งสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่ง - กระออม ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตักน้ำหรือหิ้ว หรือหาบคอนภาคกลาง ในบริเวณภาคกลางถือเป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานของประเทศ มีพัฒนาการและมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น - ตระกร้า ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่และหวาย ใช้สำหรับใส่ข้าวของต่างๆ ถือเป็นเครื่องจักสานที่มีความงดงามที่สุดในกลุ่มเครื่องจักสานของภาคกลาง - งอบ เครื่องจักสานสวมศีรษะขณะออกทำงานกลางทุ่งตามท้องไร่ท้องนา ประกอบด้วยวัสดุหลายประเภท เช่น ไม้ไผ่ ใบลาน หรือใบตาล - กระจาด ภาชนะกลม เตี้ย สานด้วยไม้ไผ่ มีขอบและมีหูสำหรับใช้หาบเป็นคู่ๆ ใส่ผักหรือผลไม้ ภาคใต้ ภาคใต้มีรูปแบบเครื่องจักสานต่างไปจากภูมิภาคอื่นๆ ในด้านรูปแบบ ลวดลาย และวัสดุที่ใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัตถุดิบในท้องถิ่น - สมุก ภาชนะสานด้วยใบลาน หรือใบตาล ใช้สำหรับใส่สิ่งของขนาดเล็ก - สอบหมาก ภาชนะสานด้วยกระจูด ใช้สำหรับใส่หมาก - เสื่อกระจูด เสื่อทำจากต้นกระจูดใช้สำหรับปูนอน หรือใช้รองนั่งที่วัดหรือสุเหร่า - เครื่องจักสานย่านลิเภา เป็นเครื่องจักสานพื้นบ้านโบราณ ใช้ย่านลิเภามาจักสานโดยลอกเอาเฉพาะเปลือกมาทำเท่านั้น สามารถทำเครื่องใช้ได้หลายอย่าง เช่น กระเป๋าถือสตรี กุบหมาก เป็นต้น เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับเรื่องราวของเครื่องจักสานที่เรานำมาฝากเพื่อนๆ ถ้าเพื่อนๆ ท่านไหนสนใจเรื่องเครื่องจักสาน สามารถมาชมนิทรรศการพิเศษเรื่อง เครื่องจักสานไทย ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงสิ้นเดือนมีนาคมค่ะ แล้วพบกันนะคะ
.....................................................................

พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ "...ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยายของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย..." (สุชาติ เผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ : ๒๕๓๐) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกลในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียมทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดินนอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศนอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปี แต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม่แทน นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

"ไบโอดีเซล" จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์


ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี 2522 โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล” ได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2544อีกทั้งในปี 2546 ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก “โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” ในงาน “บรัสเซลส์ ยูเรกา” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูง อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศ ซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

บึงมักกะสัน


หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration) ตามแนวทฤษฏีพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บึงมักกะสัน โดยใช้วิธีการมีในรูปแบบของเครื่องกรองน้ำธรรมชาติ คือ ให้มีการทดลองใช้ผักตบชวามาทำหน้าที่ดูดซึมความโสโครก รวมทั้งสารพิษจากน้ำเน่าเสีย โดยสูบน้ำจากคลองสามเสนเข้าบึงทางหนึ่ง และสูบออกจากคลองสามเสนอีกทางหนึ่ง ระยะห่างกัน๑๐๐-๒๐๐ เมตร หรือฝังท่อระบายน้ำออกทางระบายน้ำอโศก-ดินแดงโดยใช้ผักตบชวาอยู่ในบึง และทำการตกแต่งให้ดีไว้บริเวณกลางบึงเพื่อกรองน้ำเสีย

สำหรับน้ำที่ใสสะอาดขึ้นนี้ให้ระบายออกสู่ คลองธรรมชาติ ตามเดิม แล้วรับน้ำเสียจำนวนใหม่มาดำเนินการผ่านกรรมวิธีเป็นวงจร เช่นนี้ตลอดไปในอนาคตเมื่อการกำจัดน้ำเน่าเสียด้วยผักตบชวาในบึงมักกะสันแห่งนี้ ได้ผลดี ก็จะได้นำไป ใช้เป็น แบบอย่างในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียที่แหล่งน้ำ หรือลำคลองอื่นต่อไปซึ่งในขณะนี้กรุงเทพมหานครและการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นหน่วยงานหลักในการใช้ประโยชน์ และดูแลรักษาบึงแห่งนี้ให้คงมีสภาพที่ดีสืบไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบเทียบว่า "บึงมักกะสัน" เป็นเสมือนดั่ง "ไตธรรมชาติ" ของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้หลายอย่างเช่น ปุ๋ย เชื้อเพลิง เยื่อสานจากผักตบชวาและการปลูกพืชน้ำอื่นๆ เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น รวมทั้งการเลี้ยงปลาด้วย โดยมิได้มีพระราชประสงค์จะทำให้เป็น สวนสาธารณะแต่อย่างใด บึงมักกะสันจึงเป็นบึงที่สร้างภาวะแวดล้อมด้วยวิธีธรรมชาติ เรียบง่าย ประหยัด และที่สำคัญเป็น แหล่งค้นคว้าทดลองที่พระราชทานเพื่อปวงประชา จักได้มีสุขถ้วนทั่วหน้ากัน การพัฒนาบึงมักกะสันจึงนับเป็นความสำเร็จที่เกิดจาก พระปรีชาสามารถในเชิงวิชาการด้านนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษทางน้ำ ด้วย สายพระเนตรที่ยาวไกล จึงนับเป็นพระ-มหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง แก่ชาวไทยทั้งมวล

โครงการฝนหลวง


ทฤษฏีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ “ฝนหลวง”

ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรงความพระอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่ได้รับจากธรรมชาติให้ได้ โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพ ของการเป็นฝนได้“ฝนหลวง”หรือ“ฝนเทียม” จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัย ค้นคว้า ทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ขึ้นเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อมาจนถึงปัจจุบัน

กังหันน้ำชัยพัฒนา


การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วยกังหันน้ำชัยพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกล เติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถผลิตขึ้นเองได้ในประเทศ
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วมกับกรมชลประทาน เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๓๖ เครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกล
เติมอากาศเครื่องที่ ๙ ของโลก ที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียน และออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น
“สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก” กังหันชัยพัฒนา เป็นสิ่งประดิษฐเพื่อ
บำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ลักษณะเป็นเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ มีใบพัดที่ออกแบบเป็นซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 6 ซอง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้าสำหรับขับเคลื่อนซองน้ำให้หมุนรอบเป็นวงกลม ทั้งนี้ ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายผสมผสานเข้าไปในน้ำได้
อย่างรวดเร็ว โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์นี้ เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ซึ่งต่อมาได้มีการจัดให้ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น วันนักประดิษฐ์

กิจกรรมท้ายบทที่ 1

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างถูกต้อง
ตอบ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆมาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ ๑) เทคโนโลยีทางการทหาร
๒) เทคโนโลยีทางการแพทย์
๓) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
๔) เทคโนโลยีทางวิศวกรรม
๕) เทคโนโลยีทางการศึกษา

3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและ ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและ
พัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาม่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์หรือผลิตผลทาง
วิศวกรรมเป็นสำคัญ แต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่นๆทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีทางการศึกษาที่ม่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ
โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอนหรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆ
ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างประสิทธิภาพ

4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆอย่างน้อย 3 ระดับตอบ การศึกษามีความหมายแตกต่างกันตามความเข้าใจของ
บุคคลแต่ละระดับดังนี้
ตอบ 1) บุคคลธรรมดาสามัญ ตามความหมายพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็นการเล่าเรียนฝึกฝน และอบรม ( ราชบัญฑิตยสภา,2529 : 108)
2) บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ความหมายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัด
รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ (Good, 1959:191)
3) บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ 2.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษา
แนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของส่วนรวมก่อน 2.2 ทัศนะเสรีนิยม การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขา
มีอยู่แล้ว

5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ เทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งออกได้ 3 ระดับ ได้แก่
(1) ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนครู เป็นการเร้า ความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
เป็นการเพิ่มสัมผัสจากการใช้หูฟังครูพูด อย่างเดียวให้มีสัมผัสหลายทาง โดยการใช้ภาพใช้เสียงจริงหรือใช้วัสดุจำลอง การใช้ระดับนี้ ต้องควบคู่ไป
กับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะได้ผลดี
(2) ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็น จะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป
(3) ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบ การศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก

6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ ข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยี
1) การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวคิดใหม่มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้ การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2)ในปัจจุบันมีคนนิยมใช้มาก มีการปรับเปลี่ยนบท ไปเรื่อยๆจนนิยมใช้จำนวนมากนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุง ดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำมีการพิสูจน์ด้วยวิจัย น่าเชื่อถือมากขึ้น
3. มีวิธีการอย่างมีระบบ การคิดและการใช้อย่างมีระบบ
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน ทุกคนยังใช้ไม่ทั่วถึงสรุปนวัตกรรม การนำวัสดุใหม่ๆ โปรแกรมใหม่ๆ การนำเอามาพัฒนาให้ดีกว่าเดิม
เกิดใหม่เป็นนวัตกรรม ถ้าใช้แล้วหายไป เมื่อมีคนนิยมใช้และใช้มากขึ้นปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ใช้แล้วถูกใจ คนใช้มากขึ้นปรับเปลี่ยนไป เรื่อยๆ
ใช้แล้วถูกใจคนใช้มากขึ้นก็กลายเป็นเทคโนโลยี

7. จงบอกขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรมมีดังนี้
1) ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น
2) ขั้นการพัฒนาการหรือขั้นการทดลอง
3) ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง

8. จงบอกบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมา อย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา มีความสำคัญและบทบาทต่อการจัดการเขียนการสอนดังนี้
1) ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้สมบรูณ์และ ยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2) สามารถสนองเร่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มี ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียน
ตามความสามารถ ตามความสนใจ และความต้องการของแต่ละบุคคล
3) ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้า ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4) มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณภาพและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5) ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะ แก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์
ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนกลุ่ม
6) ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้นมากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบ การจัดการศึกษา

9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษามีดังนี้
1) การสอนแบบโปรแกรม
2) ศูนย์การเรียน
3) ชุดการเรียนการสอน
4) การเรียนการสอนแบบระบบเปิด
5) การสอนเป็นคณะ
6) บทเรียนสำเร็จรูป ยุคเดิมเป็นเอกสาร ยุคใหม่เป็น cat
7) การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
8) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
9) การเรียนการสอนทางไกล
10) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
11) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
12) เรียนปนเล่น
13) แบบฝึกแบบปฏิบัติเฉพาะคิดหรือเฉพาะวิชา

10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ สาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา มีดังนี้
1) การเพิ่มประชากรการเพิ่มประชากรเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู
สื่อการสอน ทำให้การจัดการศึกษาเป็นไป ไม่ทั่วถึง
2) การเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากร ทำให้สภาพ เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษา จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับ การศึกษา
สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้สังคมได้อย่างมีความสุขและก้าวหน้าต่อไป
3) ความก้าวหน้าทางวิทยากรใหม่ๆการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจาก เปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบ
วิทยาการใหม่ๆหลากหลาย ด้านการศึกษา จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธี การ
ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว


11. จงอธิบายแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยมีดังนี้
1) การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง
2) การรู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ทางการเรียนมักเกิดปัญหา เนื่องจากครูเร่งกรอกความรู้ให้แก่ ผู้เรียนอย่างเร่งรีบ
3) การสอนแบบพูดอย่างเดียว ผู้เรียนมีหน้าที่เรียนและฟัง ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกตนเอง
4) การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ระบบการศึกษาแบบเดิมมักจะสอนแต่ไม่มีการฝึกการเป็น พลเมืองดี
5) ส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตนเอง ฝักใฝ่และหลงใหลมาอยู่ในกรุงหรือ นิยมของต่างประเทศมากกว่าในประเทศ

12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ แนวทางแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย มีดังนี้
1) กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
2) สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
3) รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมวดหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ
4) รู้จักแสวงหาความรู้เอง
5) มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม

กิจกรรมท้ายบทที่ 2

กิจกรรมท้ายบทที่ 2
1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึงหรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ ผู้ส่ง ” ไปยังอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ ผู้รับ ”
3. Sender ---> Message ---> Channel ---> Receiver
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมีตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกันตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ
7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรูสึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่งตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร
8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจักรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้รับอย่างมีประสิทธิภาพตัวอย่าง เช่น9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาดนตรี ภาพวาด กิริยา ท่าทาง
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฯลฯ
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล
12. Encode หมายถึง ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง การเลือกใช้สื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
ตอบ ผู้ส่ง›สาร›ช่องทาง›ผู้รับ
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1) ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส(encode)หรือแปลความต้องการของตนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆได้
2) ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง การเลือกใช้สื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อความหมายลดลงได้
3) อุปสรรคจากสิ่งรบกวน
4) ผู้รับขาดความสามารถในการถอดรหัสสาร
5) อุปสรรคทางด้านสาร